welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The Seventh Blog
October,3  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.05 PM.  Attend class at  1.05 PM.  Finish class at 4.40 PM.


What I have learned today


           วันนี้มีกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่แสนง่ายมาให้ทำ มีอุปกรณ์ดังนี้





How to make


 นำแกนกระดาษทิชชู่มาตัดแบ่งออกเป็นครึ่งหนึ่ง
Step1: Cut a paper roll in half 


ใช้ที่เจาะรูเจาะแกนทิชชู่ทั้งสองด้าน
Step2 : Make holes on the roll by follow this picture below.


นำไหมพรมขนาด1วา มาสอดเข้ากับรูที่เจาะทั้งสองด้านดังภาพ แล้วมัดปม
Step3 : Put two yarns in those holes that you already made.



ตัดกระดาษให้ได้ขนาดพอดีกับวงกลมของแกนทิชชู
Step4: Cut a paper in a circle shape (Need to be in a same size as a roll)


 วาดรูปและระบายสีให้สวยงาม
Step5: Draw some cute picture on top of it



เสร็จแล้วนำกาวทาแล้วติดลงแกนทิชชู่
Glue the paper to the roll. and then you finished!

     

     หลังจากทำเสร็จแล้ว สงสัยกันใช่ไหมว่าของเล่นชิ้นนี้เล่นกันอย่างไร อาจารย์ลองให้นักศึกษาเแต่ละคนสาธิตวิธีการเล่นในแบบต่างๆทำให้ได้ข้อสรุปในการเล่นดังนี้

How to play

    เอาเชือกมาคล้องคอแล้วดึงเชือกตรงปลายให้ตึงแล้วกางออกเรื่อยๆลองชักขึ้นชักลงหลังจากที่เล่นแล้วสังเกตได้ว่ายิ่งกางเชือกมากเท่าไหร่แล้วขยับให้ตึงให้ได้องศาในการดึง แกนทิชชู่ก็จะเคลื่อนที่ขึ้นด้านบนได้เร็ว จากกิจกรรมการประดิษฐ์นี้ทำให้รู้ว่าการที่แกนทิชชู่จะสามารถเคลื่อนที่ได้นั้นเกิดจากเรื่องของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์นั่นเอง


    



 บทความที่เพื่อนๆนำเสนอในวันนี้มีทั้งหมด 5 บทความ

  

ผู้เขียน วณิชชา สิทธิพล



      การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการ สังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำดื่มสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย  การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์




ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา  เรืองรอง




    การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching  children  about Light and Shadow) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้เห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้นเด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ  ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดสัตว์และพืชบางชนิดมีแสงแสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

                        


  
ผู้เขียน ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก




      สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัยคือการสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้  เด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้น งานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย  ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้ นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ยกตัวอย่างในเรื่องได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่  ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้




                        



ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา  เรืองรอง



     การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching children about Flashlight ) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

                             



ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุบผา  เรืองรอง 





   การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching children about Gravity) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

                                



How to teach and use techniques

    - ให้นักศึกษามีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง Learning by doing จากการประดิษฐ์ โดยไม่ปิดกั้นความคิด ฝึกให้ได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ

     - อาจารย์จัดกิจกรรมจัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำ สังเกต รวบรวมข้อมูล หาข้อสรุปเอง ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
     -อาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบสาธิต
    -การสร้างองค์ความรู้โดยการสังเกตจากเพื่อนแล้วลองทดลองของตัวเอง
    - ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

    -ใช้การสอนโดยการนำเสนอข้อความรู้ สังเกตได้จากการนำเสนอบทความของเพื่อนแล้วอาจารย์ให้คำแนะนำ
    - มีการใช้ Program Power point ประกอบการบรรยายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่าย





Things that need to be developed
   
     - สามารถนำไปประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมจัดกิจกรรมเพื่อฝึกให้เด็กได้ ลงมือกระทำ สังเกต รวบรวมข้อมูล หาข้อสรุปเองทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Constructivism 
    -สามารถนำกิจกรรมประดิษฐ์แกนทิชชู่ไปใช้สอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยังสามารถนำไปใช้บูรณาการเกี่ยวกับกับความคิดสร้างสรรค์ได้จากการวาดรูประบายสีตกแต่งชิ้นงานของเด็ก 
 -ในการเลือกของเล่นที่จะนำมาใช้สอนเด็กต้องเป็นของเล่นที่เด็กสามารถประดิษฐ์เองได้ง่าย ไม่มีวิธีการที่ซับซ้อน
    - สามารถนำกิจกรรมการประดิษฐ์แกนทิชชู่นี้ไปใช้สอนเด็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ดังนี้     ด้านร่างกาย เด็กจะได้จากการใช้กรรไกรตัดแกนทิชชู่ การพับกระดาษก็จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือด้วย เด็กยังได้ฝึกการร้อยเชือกเข้ารู้เป็นการฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ด้านสังคม เด็กได้จากการประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน การช่วยเหลือตนเองในการทำงานประดิษฐ์และช่วยเหลือเพื่อน ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่น และด้านสติปัญญา ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูปตกแต่งระบายสี เด็กจะได้ฝึกการสังเกตและตั้งคำถามในการทำกิจกรรมการประดิษฐ์
  -สามารถนำคำแนะนำในการเขียนแผนในแต่ละวันมาปรับใช้ในการเขียนแผนของกลุ่มตนเองได้




ประเมินผล (Evaluation)


 Self-Evaluation


     มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ รู้สึกสนุกและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ ตั้งใจฟังเนื้อหาอาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ถามตลอดทั้งคาบ พยายามที่จะทำความเข้าใจในบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์แนะนำวิธีการทำงานเพื่อที่จะนำกลับไปปรับปรุงผลงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น



 Friends-Evaluation


    เพื่อนทุกคนสนใจและมีความกระตือรือร้นในการทำ
กิจกรรมงานประดิษฐ์ทุกคนตั้งใจและมีสมาธิกับการประดิษฐ์ของๆตัวเอง การนำเสนอบทความของเพื่อนในวันนี้มีการเตรียมเรื่องที่น่าสนใจมานำเสนอได้ดีแต่เพื่อนบางคนยังดูตื่นเต้นและประหม่าในการนำเสนอบทความและในขณะที่เพื่อนกำลังนำเสนอและอาจารย์ำลังสอนเพื่อนในห้องบางคนเริ่มมีการพูดคุยกันเล็กน้อย


Teacher-Evaluation


      อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เริ่มแรกมีกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์มาให้ทำ ทำให้นักศึกษามีความรู้สึกสนใจตื่นเต้นในการเรียนและเมื่อทำเสร็จอาจารย์ได้ให้นักศึกษาลองทดลองวิธีการเล่นแบบต่างๆเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้คิดและฝึกการแสดงความคิดเห็นสาธิตวิธีการเล่น อาจารย์แนะนำวิธีการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผน การทำBlog การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะให้นักศึกษานำกลับไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น