บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
The sixth Blog
September,26 2014
1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time 1.10 PM. Attend class at 1.10PM. Finish class at 4.00 PM.
- ให้นักศึกษาได้ทดลองลงมือปฏิบัติจริงจากการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
- ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ประเมินผล (Evaluation)
Self-Evaluation
มีความสนใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ และตั้งใจฟังเนื้อหาอาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามที่อาจารย์ถามตลอดทั้งคาบ วันนี้คิดว่าตนเองตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้หลายคำถาม พยายามที่จะทำความเข้าใจในบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ ในตอนที่อาจารย์สอนหน่วยการเรียนรู้เรื่องต่างๆก็พยายามตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์คอยชี้แนะและบอกให้กลับไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
Friends-Evaluation
ในช่วงแรกๆอาจารย์มีกิจกรรมงานประดิษฐ์มาให้ทำ ทำให้เพื่อนทุกคนสนใจและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมอย่างมาก พอถึงช่วงท้ายๆคาบที่มีการนำเสนอบทความของเพื่อนในวันนี้ยังรู้สึกว่าเพื่อนยังนำเสนอบทความได้ไม่น่าสนใจเท่าที่ควรและดูเหมือนจะมีการเตรียมตัวมานำเสนอได้ไม่ดีทำให้ดูตื่นเต้น ประหม่าในการนำเสนอบทความจนทำให้เพื่อนบางคนมีการพูดตะกุกตะกักไปบ้างและในขณะที่เพื่อนนำเสนออาจเป็นเพราะบทความดูไม่น่าสนใจเลยทำให้เพื่อนในห้องบางคนเริ่มมีการพูดคุยกันแต่พอถึงช่วงที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆเพื่อนในห้องก็กลับมาให้ความสนใจฟังทุกคน
Teacher-Evaluation
วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เริ่มแรกมีกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์มาให้ทำทำให้นักศึกษามีความรู้สึกสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนเพราะไม่ต้องมีการฟังอาจารย์พูดบรรยายเพียงอย่างเดียวแต่มีการปฏิบัติด้วยและในขณะที่อาจารย์สอนอาจารย์ก็จะมีการพูดปนตลกลงไป ทำให้เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ไม่น่าเบื่อโดยเฉพาะตอนที่อาจารย์สอนหน่วยการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มได้ทำมาอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกสิ่งที่จะต้องเพิ่มเติมลงไปใน Mind map การเรียนในวันนี้เลยได้รับความรู้และมีความสุขไปด้วย
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์อย่างง่ายมาให้นักศึกษาทำ
มีอุปกรณ์ดังนี้ 1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.คลิปหนีบกระดาษ
มีอุปกรณ์ดังนี้ 1.กระดาษ
2.กรรไกร
3.คลิปหนีบกระดาษ
How to do
STEP 2 พับกระดาษให้เป็น3ส่วน
STEP 3 ตัดออกให้ได้หนึ่งส่วน
STEP 4 พับครึ่ง
STEP 5 ใช้กรรไกรตัดแบ่งครึ่งให้ถึงกึ่งกลางที่พับ
STEP 6 พับปลายกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาประมาณ1 ซม.
STEP 7 นำคลิปหนีบกระดาษหนีบปลายกระดาษที่พับขึ้น
กางกระดาษด้านที่ตัดออก ดังภาพ
How to play?
- อาจารย์ลองให้แถวที่1-2 ตัดแบ่งครึ่งกระดาษไปถึงครึ่งตรงกลางรอยพับ
- แถวที่3-5 ตัดแบ่งครึ่งกระดาษไปถึงครึ่งหนึ่งของรอยพับ ทำให้มีปีกที่สั้นกว่า
เสร็จแล้วให้แถวที่1-2ออกไปโยนลูกยางดูปรากฏว่าลูกยางมีการลอยตัวอยู่ในอากาศได้นานและหมุนเป็นวงกลมสวยงาม หลังจากนั้นลองให้แถวที่3-5ออกไปโยนปรากฎว่าลูกยางที่โยนแทบจะไม่หมุนและตกลงมาเร็วมาก
จากการทดลองทำให้เห็นความแตกต่างเมื่อนำสิ่งประดิษฐ์คล้ายลูกยางที่มีปีกขนาดแตกต่างกันขึ้นโยนปรากฏว่า ส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ลูกยางสามารถหมุนได้เป็นวงกลมได้นานและคงที่คือ ปีก การทดลองนี้ทำให้ทราบว่าการที่ลูกยางลอยตัวลงมาได้อย่างสวยงามได้นั้นอาศัยการที่มีปีกหมุนอยู่ด้านบนทำให้แรงดันอากาศด้านบนน้อยกว่าด้านล่างจึงช่วยให้พยุงหนุนให้ลูกยางสามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้เหมือน helicopter นั่นเอง
บทความที่เพื่อนๆนำเสนอในวันนี้มีทั้งหมด 5 บทความ
สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มีความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ของบางอย่างกินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้
1. ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน) 15 ดอก
2. นำร้อน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
2. นำร้อน
3. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง
- นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น
- นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วย
- ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลอง
- เติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน
เพราะอะไรกันนะ
น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็นกรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง สารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย
ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด การได้ฝึกสังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าคือจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดเป็นข้อมูลขึ้นในสมองของลูก เพื่อการเรียกมาใช้ในวันหนึ่งข้างหน้านั่นเอง
หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จ เพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็ได้เตรียมกิจกรรมแผนการสอนมีหน่วยการเรียนรู้เรื่องต่างๆทั้งหมด 9 หน่วย ดังนี้ 1.Frog 2. Fish 3.Butterfly 4.toothbrush 5.Jasmine 6.Orange 7.Chicken 8.Banana 9.Cabbage
- ให้นักศึกษาได้ทดลองลงมือปฏิบัติจริงจากการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
- ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
- ใช้ English language สอดแทรกในการสอน
-ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรให้เด็กได้ฝึกทดลองด้วยตนเองเพราะเมื่อเกิดข้อผิดพลาดทำให้เด็กเกิดการสังเกตเมื่อรู้ข้อผิดพลาดทำให้เกิดการค้นพบแล้วเด็กก็มีการปรับปรุงทำให้จำสิ่งที่ผิดพลาดได้ดีและเกิดประสบการณ์ต่อสิ่งนั้นๆ
- นำหลักในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยการนำสื่อที่เป็นของจริงมาให้เด็กศึกษาจะมีผลให้เด็กเกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้มากกว่าสื่อที่เป็นของจำลอง
- นำหลักในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยการนำสื่อที่เป็นของจริงมาให้เด็กศึกษาจะมีผลให้เด็กเกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้มากกว่าสื่อที่เป็นของจำลอง
- สามารถนำแนวคิดทฤษฎี constructivism มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กเพื่อให้เด็กสืบหาค้นหาข้อความรู้ ข้อเท็จจริงโดยการลงมือกระทำด้วยตนเองทำให้เกิดข้อค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
- ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติเองมากกว่าฟังคำบรรยายจากครูเพราะเด็กจะได้เกิดเกิดทักษะและเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-จากการทดลองประดิษฐ์ลูกยางทำให้ฝึกการสังเกตและตั้งสมมติฐานว่าเพราะเหตุใดลูกยางที่มีปีกขนาดแตกต่างกันจึงหมุนไม่เหมือนกัน ทำให้ค้นพบได้ว่าถ้าทำให้ลูกยางมีปีกยาวก็จะสามารถหมุนได้ดีกว่า
- สามารถนำกิจกรรมการประดิษฐ์ลูกยางไปใช้สอนเด็กให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ดังนี้ ด้านร่างกาย เด็กก็จะได้จากการใช้ตัดกรรไกรตัดกระดาษ การพับกระดาษก็จะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือด้วย ด้านสังคม เด็กก็จะได้จากการประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่น และด้านสติปัญญา เด็กก็จะได้ฝึกการสังเกตและตั้งสมมติฐานและสามารถสอนเด็กให้ได้เรียนรู้เรื่องของแรงดันอากาศและแรงโน้มถ่วง
Self-Evaluation
มีความสนใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมงานประดิษฐ์ และตั้งใจฟังเนื้อหาอาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามที่อาจารย์ถามตลอดทั้งคาบ วันนี้คิดว่าตนเองตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้หลายคำถาม พยายามที่จะทำความเข้าใจในบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอ ในตอนที่อาจารย์สอนหน่วยการเรียนรู้เรื่องต่างๆก็พยายามตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์คอยชี้แนะและบอกให้กลับไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
Friends-Evaluation
ในช่วงแรกๆอาจารย์มีกิจกรรมงานประดิษฐ์มาให้ทำ ทำให้เพื่อนทุกคนสนใจและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมอย่างมาก พอถึงช่วงท้ายๆคาบที่มีการนำเสนอบทความของเพื่อนในวันนี้ยังรู้สึกว่าเพื่อนยังนำเสนอบทความได้ไม่น่าสนใจเท่าที่ควรและดูเหมือนจะมีการเตรียมตัวมานำเสนอได้ไม่ดีทำให้ดูตื่นเต้น ประหม่าในการนำเสนอบทความจนทำให้เพื่อนบางคนมีการพูดตะกุกตะกักไปบ้างและในขณะที่เพื่อนนำเสนออาจเป็นเพราะบทความดูไม่น่าสนใจเลยทำให้เพื่อนในห้องบางคนเริ่มมีการพูดคุยกันแต่พอถึงช่วงที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆเพื่อนในห้องก็กลับมาให้ความสนใจฟังทุกคน
Teacher-Evaluation
วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เริ่มแรกมีกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์มาให้ทำทำให้นักศึกษามีความรู้สึกสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนเพราะไม่ต้องมีการฟังอาจารย์พูดบรรยายเพียงอย่างเดียวแต่มีการปฏิบัติด้วยและในขณะที่อาจารย์สอนอาจารย์ก็จะมีการพูดปนตลกลงไป ทำให้เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ไม่น่าเบื่อโดยเฉพาะตอนที่อาจารย์สอนหน่วยการเรียนรู้ที่แต่ละกลุ่มได้ทำมาอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกสิ่งที่จะต้องเพิ่มเติมลงไปใน Mind map การเรียนในวันนี้เลยได้รับความรู้และมีความสุขไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น