welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่15

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The  Fifteenth Blog
November,28  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.05 PM.  Attend class at  1.05 PM.  Finish class at 4.40 PM.


What I have learned today


การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญที่ใช้มากที่สุดในการสอนเด็กปฐมวัย คำถามที่ใช้มีหลายประเภทดังนี้

    Example of questions



      อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มจับกลุ่ม ออกแบบใบสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนโดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเนื้อหาที่เด็กๆเรียน

                                                กลุ่มของฉัน ประชาสัมพันธ์เรียนรู้ในหน่วยกบFROG

                                          
แผ่นพับของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
                                                                    ORANGE

BUTTERFLY

CABBAGE

JASMINE

TOOTHBRUSH

CHICKEN

BANANA



How to teach and use techniques

   
 - ใช้เทคนิคการสอนแบบให้นักศึกษาทำงานรับผิดชอบร่วมกัน working group 
    - ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
    - อาจารย์พยายามใช้คำถามซ้ำๆและใช้น้ำเสียงที่กระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม
    - ใช้ English language สอดแทรกในการสอน
    - ในการสอนมีการยกตัวอย่างจากเรื่องใกล้ตัวมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น




Things that need to be developed
  
- จากการที่ได้ออกแบบใบแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน ทำให้ได้รู้เทคนิคในการเขียนให้ถุกต้องเหมาะสมและน่าสนใจ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างการทำแผ่นพับของตนเองเมื่อจบไปประกอบวิชาชีพครูก็สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นสือในการส่งข่าวประชาสัมพันธ์กันระหว่างบ้านและโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองได้รับรู้เรื่องราวที่เด็กได้เรียนในแต่ละครั้ง
-ในการเรียนทุกครั้งต้องมีการเตรียมความพร้อมและศึกษาเนื้อหาให้พร้อมอยู่เสมอ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป็นครูคือ ความมีวินัย 



ประเมินผล (Evaluation)


 Self-Evaluation


     วันนี้ตั้งใจเรียนมากเป็นพิเศษเนื่องจากวันนี้เป็นวันสุดท้ายของคาบเรียนนี้แล้วทำให้ต้องพยายามเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด ในการทำงานกลุ่มในวันนี้มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มตามความเหมาะสมกับความสามารถของตนเองถึงแม้จะมีคุยกันระหว่างทำงานบ้างหรือมีนั่งเหม่อๆบ้างแต่สุดท้ายผลงานก็ออกมาน่าภูมิใจ



 Friends-Evaluation

    เพื่อนๆเกือบทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนและทำงานกลุ่มในวันนี้เป็นอย่างดี การทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่มทุกกลุ่มมีความตั้งใจช่วยกันคิดวิธีการเขียนใบแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน ในตอนแรกที่อาจารย์ชี้แจงงาน ท้ายๆคาบเพื่อนก็เริ่มพูดคุยกันเสียงดังบ้างส่วนมากจะคุยกันเรื่องงานแต่ก็มีเพื่อนบางคนที่ไม่มีหน้าที่ทำอะไรในกลุ่มทำให้เริ่มหันหน้าคุยกันกับเพื่อน สำหรับการนำเสนอของเพื่อนในวันนี้เกิดปัญหาในการนำเสนอคือไม่มีการเตรียมความพร้อมหาวิจัยมานำเสนอซ้ำกันเป็นจำนวนมาก


Teacher-Evaluation

     อาจารย์แนะนำวิธีการทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนของแต่ละกลุ่มในแต่ละหน่วยได้ละเอียดและชัดเจนมาก อาจารย์มีความตั้งใจในการชี้แนะข้อบกพร่องในการเขียนเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ เห็นได้จากการที่อาจารย์พยายามเดินดูนักศึกษาทำงานให้ทั่วทุกกลุ่มซึ่งส่วนไหนที่ควรแก้ไขปรับปรุง ควรเพิ่มเติมอาจารย์จะบอกให้แก้ไข
    วันนี้เป็นวันปิcourse ของการเรียนวิชานี้แล้ว ตลอดระยะเวลาที่เรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับอาจารย์จินตนา ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมากมายไม่เพียงแต่เนื้อหาในเรื่องที่เรียนอย่างเดียวแต่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องซึ่งเป็นประโยชน์สามารถปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The Fourteenth Blog
                                                                  November,21  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.05 PM.  Finish class at 4.40 PM.


What I have learned today


       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาส่งscience toys และให้แยกของเล่นของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มของ science toys ประเภทไหน มีประเภท พลังงานEnergy แรงดันอากาศAir pressure น้ำWater แรงโน้มถ่วงGravitation  เสียงSound ลมWind





 หลังจากที่จากที่ส่ง science toys เสร็จแล้ว เพื่อนๆแต่ละคนได้ออกมานำเสนอThesisและ Thai teacher TV

1 นำเสนองานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่2
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์
ความสำคัญของการวิจัย
      ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็น
การจัดการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้



2 นำเสนองานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล2
ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1.เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล2ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
  2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
ทักษะที่เด็กได้ การสังเกต การลงความคิดเห็น การจำแนกแยกประเภท การวัด



3 นำเสนองานวิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนclick here for more information

ความมุ่งหมายของการวิจัย
      1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจะดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ความสำคัญของการวิจัย
       เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและจัดกิจกรรม



นำเสนองานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรclick here for more information

ความมุ่งหมายของการวิจัย
   1.เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
   2.เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
ความสำคัญของการวิจัย
     การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการ สังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำดื่มสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย  การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์



6 นำเสนองานวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 


ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง



คนที่7 นำเสนอThai teacher TV สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ click here for more information
       การสอนให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือต้องสอนให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน  ครูที่สอนต้องมีวิธีการสอนที่ทำให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อ เรียนสนุก เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความสงสัย การวัดและประเมินผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ว่าเด็กมีการสังเกตสิ่งๆต่างมากขึ้นหรือไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบตัวหรือเปล่า


นำเสนอThai teacher TV  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อยในหัวข้อเสียงมาจากไหน click here for more information

       หลักการสอนวิทยาศาสตร์ควรสอนให้เป็นเรื่องที่สนุก ไม่ไกลตัวเด็ก และเน้นการทดลองเพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำเพราะการได้ลงมือกระทำจะทำให้เด็กจำได้ไม่ลืม
กิจกรรมหน่วยการเรียนรู้เรื่องเสียง จัดโดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องเสียงผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้เด็กออกมาแสดงความสามารถทางด้านดนตรี หรือโชว์สื่อที่มีเสียงให้เด็กตื่นตาตื่นใจคือ ไก่กระตาก อ่างดำเกิดเสียงก่อง กระป๋องร้องได้ หลังจากลองให้เด็กเล่นครูใช้คำถามถามเด็กว่าเกิดเสียงขึ้นได้อย่างไร



กิจกรรม Cooking ในวันนี้คือ

waffles

อาจารย์แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ทำ waffle 
                                                                               
                                                The atmosphere of making a waffle



                                                         finally,we got a special waffle!!


                                                        It's so delicious!  




How to teach and use techniques

      -.สอนโดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการปฏิบัติจริง Learning by doing
      -อาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบสาธิต ยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น
      -อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้จริงมาให้ปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาทุกคนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียน
      -ให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกัน


Things that need to be developed
    
 -ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  -ก่อนการทำcooking ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบและรู้จักวางแผนขั้นตอนการทำที่ถูกต้อง 
  -การจัดการเรียนการสอนที่จัดให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกันและต้องใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปันสิ่งของ และฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอย                                                                 -การสอนให้เด็กทำcooking สิ่งที่สำคัญคุณครูควรแนะนำอุปกรณ์และวิธีการใช้ที่ถูกต้องและบอกถึงข้อควรระวังต่างๆ อุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมาก็ต้องมีความปลอดภัยกับเด็ก ในขณะที่เด็กทำcooking คุณครูต้องเฝ้าดูเด็กอยู่เสมอ ครูควรเป็นผู้ให้คำแนะนำเด็กและควรให้เด็กได้ปฏิบัติเอง
   -นำคำแนะนำจากอาจารย์ในการนำเสนอThesisและThai teacher TV ไปปรับใช้กับเด็กได้  เช่น นิทานที่นำมาสอนเด็กต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่จะสอน สามารถที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่การสอนได้อย่างสอดคล้อง 
       



ประเมินผล (Evaluation)


 Self-Evaluation

         วันนี้มีความกระตือรือร้นในการเรียนอย่างมากเนื่องจากต้องออกไปนำเสนอThai teacher TV และทราบมาว่าวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมcooking มาให้นักศึกษาทำ กิจกรรมcookingในวันนี้ได้รับความสนุกสนานและประสบการณ์ที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยได้ทำมาก่อนคือการทำwaffleทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำที่ถูกต้องและในขณะที่ทำcookingก็ทำให้ได้ฝึกการช่วยเหลือกันและกันภายในกลุ่ม

 Friends-Evaluation

    กิจกรรม cooking ในวันนี้เพื่อนมีความกระตือรือร้นที่จะทำcookingกันทุกคน แต่ละคนดูท่าทางจะมีความสุขกับการเรียนในวันนี้อย่างมาก ถึงแม้จะใช้เวลานานกว่าทำเสร็จแต่เพื่อนทุกคนก็อดทนรอและช่วยเหลือกันแบ่งปันกัน แต่ในขณะที่ทำcookingหรือระหว่างที่รอเพื่อนๆบางคนก็จับกลุ่มคุยกัน บางคนก็นั่งเล่นโทรศัพท์ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติกับอาจารย์ผู้สอนอย่างมาก ทำให้อาจารย์ต้องคอยตักเตือน


Teacher-Evaluation

       อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอThesis และThai teacher TV  และพูดเพิ่มเติมในเนื้อหาที่เพื่อนๆแต่ละคนออกไปนำเสนอได้ละเอียดเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้มากขึ้น
กิจกรรมcookingในวันนี้อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนอย่างมาก ในขณะที่นักศึกษาทำcooking อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการทำแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด กลุ่มไหนที่ทำผิดวิธีหรือผิดสูตร เช่น การผสมแป้งต้องข้นถ้าแป้งไม่ข้นแสดงว่าใส่น้ำเยอะเกินไป อาจารย์ก็จะพูดเพิ่มเติมเพื่อให้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น








วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The Thirteenth Blog
                                                                  November,14  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.05 PM.  Finish class at 4.40 PM.


What I have learned today

วันนี้เพื่อนๆกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอแผนการสอนออกมานำเสนอการสอนมีทั้งหมด3กลุ่ม

กลุ่มที่7 สอนในหน่วยแปรงสีฟัน toothbrush เรื่อง ประเภทของแปรงสีฟัน



ขั้นนำ :เริ่มโดยคุณครูพาเด็กๆร้องเพลง "สวัสดีเจอจ้าสวัสดี ชื่นชีวี ยิ้มแย้ม แจ่มใส มาพบกันวันนี้แสน     ดีใจ รื่นเริงไป ร้องรำให้สำราญ"
ขั้นสอน : คุณครูพาเด็กๆท่องคำคล้องจองแปรงสีฟัน 
                  แปรงสีฟันมีหลายชนิด   แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
                  แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น       รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
                  แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี       สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน  
     คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กว่าเด็กๆว่าคำคล้องจองที่ท่องไปมีอะไรบ้าง เด็กๆรู้จักแปรงสีฟัน  ประเภทไหนบ้าง 
ขั้นสรุป :คุณครูและเด็กๆร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนมาและท่องคำคล้องจองแปรงสีฟันอีกครั้ง         


กลุ่มที่2 สอนในหน่วยผีเสื้อฺbutterfly เรื่อง ลักษณะของผีเสื้อ


ขั้นนำ :คุณครูเริ่มทักทายเด็กๆโดยการร้องเพลง สวัสดีแบบไทย ไทย แล้วก็ไปแบบสากล สวัสดีทุกๆคน แบบสากลแล้วก็แบบไทย
ขั้นสอน :1. คุณครูท่องคำคล้องจองให้เด็กๆฟังก่อนแล้วให้เด็กๆท่องตามคุณครูจากนั้นคุณครูและเด็กๆร่วมกันท่องคำคล้องจองไปพร้อมๆกัน หลังจากที่ท่องคำคล้องจองเสร็จคุณครูก็จะถามสิ่งที่เด็กๆรู้จากการฟังคำคล้องจอง
2.คุณครูนำภาพผีเสื้อสองชนิดมาเปรียบเทียบกันแล้วถามเด็กๆว่าผีเสื้อทั้งสองชนิดที่คุณครูเตรียมมามีลักษณะอย่างไร และคุณครูอธิบายลักษณะของผีเสื้อให้เด็กๆฟัง แล้วเขียนเป็นตารางบอกลักษณะส่วนๆของผีเสื้อว่ามีอะรบ้างจากนั้นวาดเป็นแผนภูมิวงกลมเปรียบเทียบลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันของผีเสื้อแต่ละชนิด
ขั้นสรุป :คุณครูและเด็กๆร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนมาโดยบอกลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันของผีเสื้อ


กลุ่มที่3 สอนในหน่วยกล้วยBanana เรื่อง ชนิดของกล้วย


ขั้นนำ :เริ่มโดยคุณครูพาเด็กๆร้องเพลง "สวัสดีเธอจ้าสวัสดี ชื่นชีวี ยิ้มแย้ม แจ่มใส มาพบกันวันนี้แสน                 ดีใจ รื่นเริงไป ร้องรำให้สำราญ"
ขั้นสอน :1.คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กว่าเด็กๆรู้จักกล้วยประเภทไหนบ้างจากนั้นพาเด็กๆร้องเพลงกล้วย                   "กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย
                ค้างคาวช้างลิงฉันด้วย  
                กินกล้วยมีวิตามิน
                ลัน ลา ลัน ลา ลัน ลา.... "
               หลังจากที่ร้องเพลงเสร็จถามเด็กๆว่าเพลงที่ร้องไปมีกล้วยอะไรบ้าง
              2.คุณครูนำรูปกล้วยชนิดต่างๆมาให้เด็กๆทาย ว่ากล้วยที่นำมามีกล้วยชนิดอะไรบ้าง 
              3.คุณครูจะนำรูปภาพกล้วยชนิดนั้นๆไปติดบนกระดานจากนั้นคุณครูจะให้เด็กๆเลือกว่ากล้วยไหนที่ไม่ใช่กล้วยหอมให้เด็กๆหยิบออกและนับทีละหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบมากน้อยกว่า กล้วยชนิดไหนที่เหลือแสดงว่ากล้วยชนิดนั้นมีมากกว่า
ขั้นสรุป :  คุณครูและเด็กๆร่วมกันทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด


หลังจากที่เพื่อนนำเสนอแผนการสอนในหน่วยต่างๆเสร็จ

   อาจารย์มีกิจกรรมcooking มาให้นักศึกษาในห้องทำ ทาโกยากิไข่ข้าว takoyaki mixed with eggs and rice นั่นเอง




เริ่มโดยอาจารย์จะเป็นผู้แนะนำขั้นตอนการทำและวัสดุที่ใช้ให้นักศึกษาทราบก่อน



The atmosphere of making a takoyaki mixed with eggs and rice
บรรยากาศในการทำทาโกยากิไข่ขาว



                                        ทาโกะยากิไข่ข้าวเริ่มสุก น่ากินแล้ว It's so delicious!       
       






                            finally,we got a special takoyaki that mixed with eggs and rice.




 takoyaki mixed with eggs and rice 



เพื่อนๆออกมานำเสนอสรุปงานวิจัย Thesis

คนที่1 นำเสนองานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา click here for more information
ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาโดยรวมและจำแนกรายทักษะ
  2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
ความสำคัญของการวิจัย
เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด้กปฐมวัยเป้นแนวทางในการใช้นวัตกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา


คนที่2  นำเสนองานวิจัยเรื่องผลต่อการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย2540 ใช้การสังเกต-ความสามารถในการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง5 
 ความมุ่่งหมายของการวิจัย 
     เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
ความสำคัญของการวิจัย
    เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตและเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยให้ตรงตามจุดประสงค์


คนที่3 นำเสนองานวิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน click here for more information
ความมุ่งหมายของการวิจัย
 ผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน



How to teach and use techniques

      -.ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
      - ใช้การสอนแบบให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงและทำกิจกรรมด้วยตนเอง
     - อาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม 
      -อาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบสาธิต ยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น
      -ใช้คำพูดซ้ำๆเพื่อเน้นย้ำสิ่งที่สอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจจำได้
      -อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้จริงมาให้ปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาทุกคนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียน
    


Things that need to be developed
    
 -ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  -ในการเขียนแผนวัตถุประสงค์ต้องสามารถวัดได้และคนเป็นครูต้องรู้จักออกแบบแผนการสอนให้น่าสนใจ
  -สามารถนำคำแนะนำในการเขียนแผนในแต่ละวันมาปรับใช้ในการเขียนแผนของกลุ่มตนเองและสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนเด็กปฐมวัยได้จริง
  -คำถามที่คุณครูถามเด็ก เมื่อเด็กบอกคุณครูก็ควรจะจดสิ่งที่เด็กๆไปด้วยเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับคำที่คุณครูเขียน



ประเมินผล (Evaluation)


 
Self-Evaluation
    วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอแผนการสอนและฟังอาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอแผนการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่ม สิ่งไหนที่อาจารย์แนะนำข้อบกพร่องก็พยายามจดลงในสมุดเพื่อนำไปพัฒนาในการสอนของตนเองได้ วันนี้ได้ทำcooking รู้สึกสนใจและมีความสุขมากที่ได้ทำ takoyaki การเรียนแบบนี้ทำให้รู้สึกไม่น่าเบื่อและได้รับความรู้มากมายที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย


 Friends-Evaluation
    วันนี้เพื่อนที่ออกมาสอนแผนการสอน ทั้ง3กลุ่มมีอาการประหม่าและตื่นเต้นในการนำเสนอบางกลุ่มก็มีการเตรียมการสอนมายังไม่ดีพอแต่เพื่อนก็มีความพยายามและตั้งใจในการสอนให้ดีที่สุดและเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอก็ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น 
 กิจกรรก cooking ในวันนี้เพื่อนมีความกระตือรือร้นที่จะทำcookingกันทุกคน แต่ละคนดูท่าทางจะมีความสุขกับการเรียนในวันนี้อย่างมาก


Teacher-Evaluation
       อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอการสอนของแต่ละกลุ่มได้ละเอียดชัดเจนมาก ข้อบกพร่องต่างๆที่อาจารย์เห็นและได้บอกก็เป็นประโยชน์ในการนำมาปรับใช้ในการเขียนแผนการสอนได้ดีมาก อาจารย์มีความตั้งใจที่จะสอนจนกว่านักศึกษาจะเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ ส่วนไหนที่อาจารย์คิดว่าสำคัญก็จะเน้นย้ำเสมอ และวันนี้มีกิจกรรมcookingเห็นความตั้งใจในการสอนของอาจารย์อย่างมากเพราะอาจารย์เตรียมเครื่องมือในการทำcookingมาเองโดยไม่ให้นักศึกษาเตรียมมาหรือไม่มีการเก็บเงินค่าอุปกรณ์ใดๆเลย การทำcookingในวันนี้ทำให้ใช้เวลาในการเรียนไปหน่อยแต่อาจารย์ก็ตั้งใจสอนนักศึกษาอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย