welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The Fourteenth Blog
                                                                  November,21  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.05 PM.  Finish class at 4.40 PM.


What I have learned today


       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาส่งscience toys และให้แยกของเล่นของตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มของ science toys ประเภทไหน มีประเภท พลังงานEnergy แรงดันอากาศAir pressure น้ำWater แรงโน้มถ่วงGravitation  เสียงSound ลมWind





 หลังจากที่จากที่ส่ง science toys เสร็จแล้ว เพื่อนๆแต่ละคนได้ออกมานำเสนอThesisและ Thai teacher TV

1 นำเสนองานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่2
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์
ความสำคัญของการวิจัย
      ในการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็น
การจัดการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้



2 นำเสนองานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล2
ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1.เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล2ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
  2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
ทักษะที่เด็กได้ การสังเกต การลงความคิดเห็น การจำแนกแยกประเภท การวัด



3 นำเสนองานวิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนclick here for more information

ความมุ่งหมายของการวิจัย
      1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
    2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจะดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ความสำคัญของการวิจัย
       เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและจัดกิจกรรม



นำเสนองานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรclick here for more information

ความมุ่งหมายของการวิจัย
   1.เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
   2.เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
ความสำคัญของการวิจัย
     การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการ สังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำดื่มสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย  การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์



6 นำเสนองานวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 


ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง
 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง



คนที่7 นำเสนอThai teacher TV สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ click here for more information
       การสอนให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือต้องสอนให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน  ครูที่สอนต้องมีวิธีการสอนที่ทำให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อ เรียนสนุก เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความสงสัย การวัดและประเมินผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ว่าเด็กมีการสังเกตสิ่งๆต่างมากขึ้นหรือไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบตัวหรือเปล่า


นำเสนอThai teacher TV  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อยในหัวข้อเสียงมาจากไหน click here for more information

       หลักการสอนวิทยาศาสตร์ควรสอนให้เป็นเรื่องที่สนุก ไม่ไกลตัวเด็ก และเน้นการทดลองเพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำเพราะการได้ลงมือกระทำจะทำให้เด็กจำได้ไม่ลืม
กิจกรรมหน่วยการเรียนรู้เรื่องเสียง จัดโดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องเสียงผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้เด็กออกมาแสดงความสามารถทางด้านดนตรี หรือโชว์สื่อที่มีเสียงให้เด็กตื่นตาตื่นใจคือ ไก่กระตาก อ่างดำเกิดเสียงก่อง กระป๋องร้องได้ หลังจากลองให้เด็กเล่นครูใช้คำถามถามเด็กว่าเกิดเสียงขึ้นได้อย่างไร



กิจกรรม Cooking ในวันนี้คือ

waffles

อาจารย์แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ทำ waffle 
                                                                               
                                                The atmosphere of making a waffle



                                                         finally,we got a special waffle!!


                                                        It's so delicious!  




How to teach and use techniques

      -.สอนโดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการปฏิบัติจริง Learning by doing
      -อาจารย์ใช้วิธีการสอนแบบสาธิต ยกตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น
      -อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้จริงมาให้ปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาทุกคนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียน
      -ให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกัน


Things that need to be developed
    
 -ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
  -ก่อนการทำcooking ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบและรู้จักวางแผนขั้นตอนการทำที่ถูกต้อง 
  -การจัดการเรียนการสอนที่จัดให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกันและต้องใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปันสิ่งของ และฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอย                                                                 -การสอนให้เด็กทำcooking สิ่งที่สำคัญคุณครูควรแนะนำอุปกรณ์และวิธีการใช้ที่ถูกต้องและบอกถึงข้อควรระวังต่างๆ อุปกรณ์ที่คุณครูเตรียมมาก็ต้องมีความปลอดภัยกับเด็ก ในขณะที่เด็กทำcooking คุณครูต้องเฝ้าดูเด็กอยู่เสมอ ครูควรเป็นผู้ให้คำแนะนำเด็กและควรให้เด็กได้ปฏิบัติเอง
   -นำคำแนะนำจากอาจารย์ในการนำเสนอThesisและThai teacher TV ไปปรับใช้กับเด็กได้  เช่น นิทานที่นำมาสอนเด็กต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่จะสอน สามารถที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่การสอนได้อย่างสอดคล้อง 
       



ประเมินผล (Evaluation)


 Self-Evaluation

         วันนี้มีความกระตือรือร้นในการเรียนอย่างมากเนื่องจากต้องออกไปนำเสนอThai teacher TV และทราบมาว่าวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมcooking มาให้นักศึกษาทำ กิจกรรมcookingในวันนี้ได้รับความสนุกสนานและประสบการณ์ที่แปลกใหม่ที่ไม่เคยได้ทำมาก่อนคือการทำwaffleทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำที่ถูกต้องและในขณะที่ทำcookingก็ทำให้ได้ฝึกการช่วยเหลือกันและกันภายในกลุ่ม

 Friends-Evaluation

    กิจกรรม cooking ในวันนี้เพื่อนมีความกระตือรือร้นที่จะทำcookingกันทุกคน แต่ละคนดูท่าทางจะมีความสุขกับการเรียนในวันนี้อย่างมาก ถึงแม้จะใช้เวลานานกว่าทำเสร็จแต่เพื่อนทุกคนก็อดทนรอและช่วยเหลือกันแบ่งปันกัน แต่ในขณะที่ทำcookingหรือระหว่างที่รอเพื่อนๆบางคนก็จับกลุ่มคุยกัน บางคนก็นั่งเล่นโทรศัพท์ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติกับอาจารย์ผู้สอนอย่างมาก ทำให้อาจารย์ต้องคอยตักเตือน


Teacher-Evaluation

       อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอThesis และThai teacher TV  และพูดเพิ่มเติมในเนื้อหาที่เพื่อนๆแต่ละคนออกไปนำเสนอได้ละเอียดเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้มากขึ้น
กิจกรรมcookingในวันนี้อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนอย่างมาก ในขณะที่นักศึกษาทำcooking อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการทำแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด กลุ่มไหนที่ทำผิดวิธีหรือผิดสูตร เช่น การผสมแป้งต้องข้นถ้าแป้งไม่ข้นแสดงว่าใส่น้ำเยอะเกินไป อาจารย์ก็จะพูดเพิ่มเติมเพื่อให้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น