สรุปงานวิจัย
การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรูปประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
THE DEVELOPMENT OF SCIENCE PROCESS SKILLS OF YOUNG CHILDREN
EXPERIENCING LEARNING ACTIVITY WITH EXERCISED BOOK PACKAGE
ของ เอราวรรณ ศรีจักร
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชดแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
เป็นเด็กนักเรียน ชาย - หญิง อายุ 4 - 5 ปีกำ ลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ด้วยการสุ่ม
ตัวอย่างอย่างง่าย จํานวน 15 คน เพื่อให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึก
ทักษะ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ แผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ และแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
ที่มีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .77 ใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One - Group
Pretest - Posttest Design และ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t
- test Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบชุดแบบฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และจําแนกรายทักษะมีค่าเฉลยคะแนนสูงขึ้นทุก
ทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการลงความเห็น
และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการ
ทดลอง พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตที่ระดับ
.01
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่งกําลัง
ศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
วิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย
หมายถึง ความสามารถของ
เด็กปฐมวัยในการใช้วามคิด
การค้นหาความรู้เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ในการวิจัยนี้
จําแนกเป็น
4 ด้าน ดังนี้
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกัน
ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ
เหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
3.2 การจําแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสงของโดยมี
เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง
ได้แก่ความเหมือน ความแตกต่างและ
ความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้บอกถึงสิ่งที่
ค้นพบจากการสังเกต
การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่ง
ที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิด
ขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกบการใช้เหตุผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น