welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The fifth Blog
September,19  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.10 PM.  Finish class at 4.00 PM.



What I have learned today

            วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์มีสิ่งประดิษฐ์รูปร่างเหมือนบุหรี่ขนาดยักษ์ที่ภายนอกถูกห่อหุ้มไปด้วยกระดาษสีดำ มาให้นักศึกษาแต่ละคนได้สังเกต 


 เมื่อมองจากภายนอกจะไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างในนี้แต่เมื่อได้ส่องแล้วลองขยับเอนไปมาก็จะพบว่ามีลูกปิงปองอยู่ข้างใน
       จากสิ่งประดิษฐ์นี้เมื่อได้ส่องทางช่องใสๆ เราสามารถมองเห็นลูกปิงปองได้เพราะเกิดจากการที่แสงไปกระทบกับวัตถุที่อยู่ภายในทำให้เราสามารถมองเห็นลูกปิงปองได้นั่นเอง


กิจกรรมที่2 อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ1ใบ จากนั้นให้แบ่งกระดาษออกเป็นสองฝั่ง แล้วให้แต่ละคนวาดรูปอะไรก็ได้ฝั่งละ1รูป โดยรูปทั้งสองที่วาดนั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน

                                                 
                                  Example There is a pot and a flower



    เสร็จแล้วนำไม้เสียบลูกชิ้นติดไว้กึ่งกลางข้างในกระดาษดังรูป แล้วพับติดกระดาษทั้งสองด้านเข้าหากันก็จะได้รูปภาพด้านละรูป ด้านหนึ่งเป็นดอกไม้ อีกด้านเป็นกระถางต้นไม้


    เสร็จแล้วใช้มือปั่นที่ด้ามไม้จะมองเห็นภาพที่ปรากฏบนกระดาษจากภาพสองมิติ 2 Dimension กลายเป็นภาพแบบสามมิติ 3 Dimension ทันที 
                                                         
                                                         
                  After finished, you'll see this beautiful flower in a pot. Isn't cool?


   จากกิจกรรมนี้จากการที่ได้ไปศึกษามาทำให้ทราบว่าการที่เราสามารถมองเห็นภาพแล้วเกิดเป็นภาพซ้อนหรือภาพสามมิติ 3 Dimensionได้นั้นเกิดจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากสิ่งที่เราปั่นไม่ทันทำให้เกิดภาพซ้อนมองเห็นเป็นภาพสามมิติ 3 Dimensionได้นั่นเอง 
สิ่งที่เด็กจะได้จากกิจกรรมนี้เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา(Space and time)ได้รู้ทักษะการสังเกต พัฒนากล้ามเนื้อมือในการออกแรงปั่นไม้  และกิจกรรมนี้เองสามารถนำไปต่อยอดเป็นพื้นฐานในการสร้างหนังสือที่มีการเคลื่อนไหวหรือใช้สร้าง Cartoon Animation 
หลังจากที่ทำกิจกรรมเพื่อนๆได้ออกมานำเสนอบทความ


บทความที่เพื่อนๆออกมานำเสนอวันนี้มีทั้งหมด 3 บทความ 

         การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change) 
ความหลากหลาย (Variety) 
การปรับตัว (Adjustment) 
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) 
ความสมดุล (Equilibrium) 



บทความที่2 เรื่องสอนลูกเรื่องสัตว์ Animals


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน
ประโยชน์ที่ได้
        -ฝึกทักษะการสังเกต การสำรวจ การจำแนก เปรียบเทียบ
        - สังเกตการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิต ความเป็นอยู่ของสัตว์
        - ได้ทักษะการแปลความหรือลงข้อมูล เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกัน
        -ได้ทักษะการทดลอง เช่น ทดลองความแตกต่างของลักษณะของเนื้อไก่เมื่อนำไปทอดหรือนึ่ง



บทความที่3 เรื่องการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเรื่องศิลปะกับวิทยาศาสตร์



        -การจัดกิจกรรมศิลปะและวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กจะไม่ดูที่ผลงานของเด็กแต่ควรจะดูที่กระบวนการการทำงานของเด็กเพื่อฝึกให้เด็กเกิดทักษะ
       - ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น การหยดสีทำให้เกิดการผสมกันของสี การเป่าสี การละลายของน้ำแข็งที่มีหลายสีเด็กจะได้รู้การเปลี่ยนแปลงเรื่องสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว ประดิษฐ์กังหันลมหลากสีเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของอากาศ


อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ฟัง (Teacher turn on the music about Science)
         จากเพลงนี้ต้องการจะสื่อให้รู้ว่าความแตกต่างทางความคิดของคนทำให้หาข้อสรุปไม่ได้เลยต้องมีการพยายามนำไปสู่การค้นหาคำตอบโดยการทดลอง การพิสูจน์


เนื้อหาที่อาจารย์สอนสรุปในรูปของ Change the lesson to Mind map 




วิธีการสอนและเทคนิคในการสอน (How to teach and use techniques)

    - ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

    -วันนี้อาจารย์ใช้ Program  Power point ในการบรรยายประกอบการสอน
    - มีการใช้เพลงในการตั้งคำถามฝึกให้นักศึกษาคิดหาคำตอบ และเชื่อมโยงเพลงให้เข้ากับความรู้ที่เรียน
    - ใช้ English language สอดแทรกในการสอน
    -ฝึกให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ Constructionism theory


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (Things that need to be developed)


    -  นำหลักในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยการนำสื่อที่เป็นของจริงมาให้เด็กศึกษาจะมีผลให้เด็กเกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้มากกว่าสื่อที่เป็นของจำลอง
     -การเลือกใช้เพลงในการให้ความรู้กับเด็กเพราะเพลงถือเป็นสื่อที่สำคัญต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กเพราะเพลงมีจังหวะ ทำนองสนุกสนาน เมื่อสอดแทรกความรู้ต่างๆลงไปในเพลงก็จะทำให้เด็กจำได้ไม่รู้สึกเบื่อซึ่งจะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
     -นำคำแนะนำในการเลือกบทความและการนำเสนอบทความมาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม
    - สามารถนำทฤษฎี Construction theory มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กโดยให้เด็กได้ลงมือกระทำชิ้นงานด้วยตนเอง
    - สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมี Science process skills ครบทั้ง7ทักษะ
    - ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นให้เด็กลงมืปฏิบัติเองมากกว่าฟังคำบรรยายจากครูเพราะเด็กจะได้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองและเด็กจะเข้าใจมากกว่า
    - เลือกจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้คือประสาทสัมผัสทั้ง5
    - นำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทำเช่น ทำภาพซ้อนไปใช้สอนเด็กให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ด้านร่างกาย เด็กก็จะได้จากการปั่นไม้เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ ด้านสังคม เด็กก็จะได้จากการประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่น และด้านสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้เรียนรู้เรื่องภาพสามมิติ เป็นต้น 


ประเมินผล (Evaluation)


ประเมินตนเอง Self-Evaluation


วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา มีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำอย่างมาก ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์ วันนี้ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้หลายข้อโดยเฉพาะคำศัพท์ภาษาอังกฤษและคำถามที่เกี่ยวกับศิลปะ

ประเมินเพื่อน    Friends-Evaluation

วันนี้เพื่อนๆในห้องทุกคนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถามของอาจารย์ดีมาก  ในช่วงที่เพื่อนออกไปนำเสนอบทความยังมีเพื่อนบางคนที่คุยกันและไม่ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนออกไปนำเสนอ แต่โดยรวมแล้ววันนี้เพื่อนๆเกือบทุกคนตั้งใจเรียนกันดีอาจเป็นเพราะว่าวันนี้มีกิจกรรมมาให้ทำเลยทำให้ไม่รู้สึกเบื่อ

ประเมินอาจารย์   Teacher-Evaluation

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาสอนและเทคนิคการสอนที่หลากหลายทำให้เนื้อหาในการเรียนในวันนี้ดูน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ อาจารย์มีคำถามมาถามนักศึกษาได้ตลอดทั้งคาบเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาแต่ละคนได้ใช้ความคิด


    

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The fourth Blog
September,12  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.00 PM.  Attend class at  1.00 PM.  Finish class at 4.00 PM.




What I have learned today

            วันนี้ก่อนเริ่มเรียนเพื่อนๆได้ออกมานำเสนอบทความมีทั้งหมด 3 บทความ ดังนี้

            บทความที่1 การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


      การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆให้กับเด็กโดยผ่านกิจกรรมที่จัดเตรียมไว้เพื่อให้เด็กรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคม การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูจึงควรคำนึงถึงความพร้อม ความสนใจและความต้องการของเด็ก เพราะครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนในชั้นเรียน ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองจากความต้องการ ความสนใจ ความอยากรู้ อยากเห็นเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเด็กให้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและตอบสนองความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้เป็นอย่างดี 



            บทความที่2 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
  

     กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย




    นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า 



  Change the lesson to Mind map




วิธีการสอนและเทคนิคในการสอน(How to teach and use techniques)

       - อาจารย์พยายามใช้ English  language สอนแทรกในการบรรยายการสอน
      -ใช้ Program Power point ประกอบการสอนเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
      -  พยายามให้นักศึกษาทุกคนทีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นที่จะตอบคำถาม

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (Things that need to be developed) 
     -สามารถนำเทคนิคในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจโดยการสอนผ่านนิทานเป็นการสร้างเจตคติให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าสนุก
    - สามารถนำกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอนไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
    -  สามารถนำหลักในการสอนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมคือเน้นให้เด็กทดลอง เรียนรู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง มากกว่าการสอนบรรยาย ไปสอนเด็กปฐมวัยได้
     
การประเมินผล(Evaluation)

ประเมินตนเอง Self-Evaluation
   วันนี้มีสมาธิในการตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์บรรยาย ตั้งใจจดสิ่งที่อาจารย์พูดลงสมุดตลอดการเรียน พยายามมีส่วนร่วมในการตอบคำถามแม้จะตอบไม่ตรงคำถามที่อาจารย์ถามก็ตาม 

ประเมินเพื่อน Friends
-Evaluation
    วันนี้เพื่อนๆมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนดีเกือบทุกคน การแต่งกายเหมือนกันตามที่ตกลง ในการเรียนวันนี้ถ้าเป็นเนื้อหาที่อาจารย์กำลังสอนก็ยังได้ยินเสียงเพื่อนบางคนคุยกันอยู่บ้างแต่พออาจารย์เริ่มมีการถามคำถามทุกคนก็จะเงียบ ให้ความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม ในช่วงที่เพื่อนนำเสนอบทความเพื่อนๆตั้งใจฟังกันเป็นส่วนมากแต่ก็มีส่วนน้อยที่ยังคุยกันอยู่ 

ประเมินอาจารย์ Teacher
-Evaluation
    วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอบทความเพื่อให้นักศึกษากลับไปปรับปรุงได้ละเอียดมากซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอของเพื่อนคนอื่นๆที่ยังไม่นำเสนอครั้งต่อไป




บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The Third Blog
September,5  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.00 PM.  Finish class at 4.00 PM.





What I have learned today

    เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้สรุปเป็นMind map





วันนี้หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ได้ให้เพื่อนที่เตรียมบทความมาออกมานำเสนอมีทั้งหมด 4 บทความ


    บทความที่1  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


       วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย


    บทความที่2  กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล



กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล Preschool  Workshops

ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่   อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย
KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนตร์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ

WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย



    บทความที่3  สอนลูกเรื่องพืช(Plants)


    การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งการปลูกพืชจะทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิต การเลี้ยงดู ประโยชน์ และคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
   การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย



      แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" ประกอบด้วยแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
       1.
ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ตัว หรือโลกของเรา
       2.
ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
       3.
เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
       4.
นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน
       5.
การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์


วิธีการสอนและเทคนิคในการสอน (How to teach and use techniques)


      -ใช้ Program Power point ประกอบการสอนและใช้คำถามประกอบการสอนโดยใช้สื่อคือ Power point ในการตั้งคำถามมีรูปภาพประกอบ
      -  ใช้น้ำเสียงหนักแน่นในการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม 
      -  อาจารย์ใช้ English  language สอนแทรกในการบรรยายการสอน 


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (Things that need to be developed)


      - เรื่องการแต่งการเป็นเรื่องแรกที่อาจารย์พูดในวันนี้เนื่องจากมีเพื่อนบางคนแต่งกายมาไม่เหมือนกัน อาจารย์จึงเน้นให้นักศึกษาทุกคนแต่งกายมาให้เหมือนกันเพื่อความเป็นเอกภาพUnity เป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยไปในตัว
      -นำคำแนะนำเรื่องการพยายามใช้ภาษาอังกฤษให้มากในการบันทึกBlogเพราะถ้าเราใช้อย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เราจำศัพท์คำนั้นได้ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง
    - เรื่องการนำความรู้ที่ได้เรียนหรือได้ฟังจากการบรรยายบทความของเพื่อนมาสรุปเป็น Mindmap การสรุปเป็น Mindmap ก็จะทำให้ง่ายต่อการจดจำทำให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้เข้าใจและง่ายขึ้นซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการเรียนรู้
    - นำเทคเนคการสอนของอาจารย์โดยใช้คำถามปลายเปิดไปประยุกต์ใช้ในการตั้งคำถามให้กับเด็กปฐมวัยทำให้เด็กได้ฝึกคิด 
   -นำคำแนะนำของอาจารย์ในการนำเสนอบทความของเพื่อนมาปรับใช้กับตนเอง
     


ประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง Self-Evaluation

วันนี้ในช่วงแรกๆตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์พร้อมกับจดสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ที่อาจารย์ได้พูด พอท้ายๆคาบเริ่มไม่ค่อยมีสมาธิแต่ก็พยายามดึงจิตตัวเองให้มีสมาธิกับการเรียนได้ พอเพื่อนพูดบทความวันนี้เริ่มรู้สึกเบื่อเพราะคิดว่าเพื่อนยังไม่มีวิธีพูดบทความได้น่าสนใจ 

ประเมินเพื่อน  Friends-Evaluation

    วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์พูด บางคนก็มีส่วนร่วมในการตอบคำถามส่วนมากจะเป็นคนเดิมๆที่ตอบคำถามอาจารย์แต่บางคนก็ไม่กล้าตอบ แต่ช่วงที่เพื่อนออกไปนำเสนอบทความ ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์comment มากเป็นพิเศษ

ประเมินอาจารย์  Teacher-Evaluation

   ในการสอนอาจารย์มีเทคนิคการอธิบายยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย อาจารย์พยายามให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามอยู่เสมอทำให้นักศึกษากระตือรือร้นที่จะตอบคำถาม เนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนอยู่ในรูปแบบของ Power point และมีรูปภาพเป็นสื่อประกอบการสอนทำให้เข้าใจได้ง่าย