welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The fourth Blog
September,12  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.00 PM.  Attend class at  1.00 PM.  Finish class at 4.00 PM.




What I have learned today

            วันนี้ก่อนเริ่มเรียนเพื่อนๆได้ออกมานำเสนอบทความมีทั้งหมด 3 บทความ ดังนี้

            บทความที่1 การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


      การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆให้กับเด็กโดยผ่านกิจกรรมที่จัดเตรียมไว้เพื่อให้เด็กรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคม การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูจึงควรคำนึงถึงความพร้อม ความสนใจและความต้องการของเด็ก เพราะครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนในชั้นเรียน ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองจากความต้องการ ความสนใจ ความอยากรู้ อยากเห็นเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเด็กให้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและตอบสนองความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้เป็นอย่างดี 



            บทความที่2 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
  

     กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย




    นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย นิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า 



  Change the lesson to Mind map




วิธีการสอนและเทคนิคในการสอน(How to teach and use techniques)

       - อาจารย์พยายามใช้ English  language สอนแทรกในการบรรยายการสอน
      -ใช้ Program Power point ประกอบการสอนเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
      -  พยายามให้นักศึกษาทุกคนทีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นที่จะตอบคำถาม

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (Things that need to be developed) 
     -สามารถนำเทคนิคในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจโดยการสอนผ่านนิทานเป็นการสร้างเจตคติให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าสนุก
    - สามารถนำกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอนไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
    -  สามารถนำหลักในการสอนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมคือเน้นให้เด็กทดลอง เรียนรู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง มากกว่าการสอนบรรยาย ไปสอนเด็กปฐมวัยได้
     
การประเมินผล(Evaluation)

ประเมินตนเอง Self-Evaluation
   วันนี้มีสมาธิในการตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์บรรยาย ตั้งใจจดสิ่งที่อาจารย์พูดลงสมุดตลอดการเรียน พยายามมีส่วนร่วมในการตอบคำถามแม้จะตอบไม่ตรงคำถามที่อาจารย์ถามก็ตาม 

ประเมินเพื่อน Friends
-Evaluation
    วันนี้เพื่อนๆมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนดีเกือบทุกคน การแต่งกายเหมือนกันตามที่ตกลง ในการเรียนวันนี้ถ้าเป็นเนื้อหาที่อาจารย์กำลังสอนก็ยังได้ยินเสียงเพื่อนบางคนคุยกันอยู่บ้างแต่พออาจารย์เริ่มมีการถามคำถามทุกคนก็จะเงียบ ให้ความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม ในช่วงที่เพื่อนนำเสนอบทความเพื่อนๆตั้งใจฟังกันเป็นส่วนมากแต่ก็มีส่วนน้อยที่ยังคุยกันอยู่ 

ประเมินอาจารย์ Teacher
-Evaluation
    วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำในการนำเสนอบทความเพื่อให้นักศึกษากลับไปปรับปรุงได้ละเอียดมากซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอของเพื่อนคนอื่นๆที่ยังไม่นำเสนอครั้งต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น