welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

บทความ
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์จินตนา   สุขสำราญ



บทความเรื่องการสอนลูกเรื่องแม่เหล็ก   

ผู้เขียน:ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุปผา  เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ที่มา:www.taamkru.com
สืบค้นวันที่:3 กันยายน 2556
      การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force) เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรงซึ่งคนเราไม่สามารถเห็นแรงที่ดูด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นถือเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลองเพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเด็กจะได้รับรู้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็กไปหาแม่เหล็ก แม่เหล็กนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่แปลกและน่าสนใจชวนให้เด็กตื่นเต้นได้เป็นอย่างดี
     การสอนเรื่องแม่เหล็กนั้นมีความสำคัญแก่เด็กปฐมวัยคือฝึกให้เด็กรู้จักคิด ตั้งคำถามด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและรู้จักธรรมชาติใกล้ตัวเพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวที่เกิดจากแรงแม่เหล็กและเด็กปฐมวัยจะได้รับการพัฒนาทางความคิดผ่านการปฏิบัติด้วยตนเองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กนั้นมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้ คือเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่เป็นเรื่องธรรมชาติ เด็กจะได้รับความรู้ผ่านกิจกรรมทดลองง่ายๆหรือเกิดจากการเล่นที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด  ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวถือเป็นทักษะที่สำคัญที่เด็กจะใช้แสวงหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์คือรู้จักคิดและตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การหาทางทดลองเพื่อเป็นคำตอบเป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก

คุณครูสามารถสอนเรื่องแรงแม่เหล็กได้ดังนี้
   เริ่มแรกครูอาจเป็นผู้ถามหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กถามเพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรม เช่นแม่เหล็กดูดอะไรได้บ้าง แม่เหล็กชนิดไหนมีแรงดึงดูดมากที่สุด ส่วนใดของเเม่เหล็กมีแรงดึงดูดมากที่สุด เป็นต้น
ครูปฐมวัยจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กผ่านกิจกรรมหลักทั้ง 6 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็ก ตัวอย่างกิจกรรมหลักทั้ง6 เช่น
กิจกรรมเสริมประสบการณ์  ครูให้เด็กทดลองและนำเสนอผลการทดลองแรงดูดและแรงผลักของแม่เหล็กผ่านการเล่นและงานประดิษฐ์
กิจกรรมเสรี ครูอาจจัดแม่เหล็ก เข็มทิศไว้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เด็กทดลองใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กใช้งานประดิษฐ์และสร้างสรรค์ตามหน่วยการสอนนั้นๆไปประกอบกับแม่เหล็กเป็นของเล่น
เกมการศึกษา เช่นเรียนเรื่องหน่วยปลา เล่นเกมจับคู่ปลาที่เหมือนกันโดยใช่แท่งแม่เหล็กดึงปลาที่เหมือนกันมาไว้กลุ่มเดียวกัน
กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเกมขั่วเหนือขั่วใต้ของแม่เหล็กโดยให้เด็กสมมติตัวเองเป็นแม่เหล็กขั่วใดขั่วหนึ่ง
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูเปิดเพลงให้เด็กได้เคลื่อนไหวเมื่อครูชูภาพแม่เหล็กไปทางใดให้เด้กขยับอวัยวะของตนเองที่เคลื่อนไหวได้ไปทิศทางที่ชูแม่เหล็ก

พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสอนเรื่องแรงแม่เหล็กให้ลูกได้เช่น

    - สอนให้ลูกรู้จักเครื่องใช้ในบ้านที่มีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ
    - เล่านิทานที่ใช้ตัวละครติดแม่เหล็กให้ลูกมีส่วนร่วมในการเล่าและเคลื่อนตัวละครเอง
    - จัดกิจกรรมเที่ยว พักผ่อนนอกบ้านโดยการเดินทางให้ใช้แผนที่และเข็มทิศเป็นเครื่องมือ 
    - เล่นเกมภายในครอบครัวโดยหาของใช้ในบ้านที่แม่เหล็กดูดได้และไม่ได้และลองให้ลูกแยก

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://taamkru.com/th/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น