welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The fifth Blog
September,19  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.10 PM.  Finish class at 4.00 PM.



What I have learned today

            วันนี้ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์มีสิ่งประดิษฐ์รูปร่างเหมือนบุหรี่ขนาดยักษ์ที่ภายนอกถูกห่อหุ้มไปด้วยกระดาษสีดำ มาให้นักศึกษาแต่ละคนได้สังเกต 


 เมื่อมองจากภายนอกจะไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ข้างในนี้แต่เมื่อได้ส่องแล้วลองขยับเอนไปมาก็จะพบว่ามีลูกปิงปองอยู่ข้างใน
       จากสิ่งประดิษฐ์นี้เมื่อได้ส่องทางช่องใสๆ เราสามารถมองเห็นลูกปิงปองได้เพราะเกิดจากการที่แสงไปกระทบกับวัตถุที่อยู่ภายในทำให้เราสามารถมองเห็นลูกปิงปองได้นั่นเอง


กิจกรรมที่2 อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ1ใบ จากนั้นให้แบ่งกระดาษออกเป็นสองฝั่ง แล้วให้แต่ละคนวาดรูปอะไรก็ได้ฝั่งละ1รูป โดยรูปทั้งสองที่วาดนั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน

                                                 
                                  Example There is a pot and a flower



    เสร็จแล้วนำไม้เสียบลูกชิ้นติดไว้กึ่งกลางข้างในกระดาษดังรูป แล้วพับติดกระดาษทั้งสองด้านเข้าหากันก็จะได้รูปภาพด้านละรูป ด้านหนึ่งเป็นดอกไม้ อีกด้านเป็นกระถางต้นไม้


    เสร็จแล้วใช้มือปั่นที่ด้ามไม้จะมองเห็นภาพที่ปรากฏบนกระดาษจากภาพสองมิติ 2 Dimension กลายเป็นภาพแบบสามมิติ 3 Dimension ทันที 
                                                         
                                                         
                  After finished, you'll see this beautiful flower in a pot. Isn't cool?


   จากกิจกรรมนี้จากการที่ได้ไปศึกษามาทำให้ทราบว่าการที่เราสามารถมองเห็นภาพแล้วเกิดเป็นภาพซ้อนหรือภาพสามมิติ 3 Dimensionได้นั้นเกิดจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากสิ่งที่เราปั่นไม่ทันทำให้เกิดภาพซ้อนมองเห็นเป็นภาพสามมิติ 3 Dimensionได้นั่นเอง 
สิ่งที่เด็กจะได้จากกิจกรรมนี้เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา(Space and time)ได้รู้ทักษะการสังเกต พัฒนากล้ามเนื้อมือในการออกแรงปั่นไม้  และกิจกรรมนี้เองสามารถนำไปต่อยอดเป็นพื้นฐานในการสร้างหนังสือที่มีการเคลื่อนไหวหรือใช้สร้าง Cartoon Animation 
หลังจากที่ทำกิจกรรมเพื่อนๆได้ออกมานำเสนอบทความ


บทความที่เพื่อนๆออกมานำเสนอวันนี้มีทั้งหมด 3 บทความ 

         การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change) 
ความหลากหลาย (Variety) 
การปรับตัว (Adjustment) 
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) 
ความสมดุล (Equilibrium) 



บทความที่2 เรื่องสอนลูกเรื่องสัตว์ Animals


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน
ประโยชน์ที่ได้
        -ฝึกทักษะการสังเกต การสำรวจ การจำแนก เปรียบเทียบ
        - สังเกตการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิต ความเป็นอยู่ของสัตว์
        - ได้ทักษะการแปลความหรือลงข้อมูล เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกัน
        -ได้ทักษะการทดลอง เช่น ทดลองความแตกต่างของลักษณะของเนื้อไก่เมื่อนำไปทอดหรือนึ่ง



บทความที่3 เรื่องการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเรื่องศิลปะกับวิทยาศาสตร์



        -การจัดกิจกรรมศิลปะและวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กจะไม่ดูที่ผลงานของเด็กแต่ควรจะดูที่กระบวนการการทำงานของเด็กเพื่อฝึกให้เด็กเกิดทักษะ
       - ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น การหยดสีทำให้เกิดการผสมกันของสี การเป่าสี การละลายของน้ำแข็งที่มีหลายสีเด็กจะได้รู้การเปลี่ยนแปลงเรื่องสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว ประดิษฐ์กังหันลมหลากสีเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของอากาศ


อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้ฟัง (Teacher turn on the music about Science)
         จากเพลงนี้ต้องการจะสื่อให้รู้ว่าความแตกต่างทางความคิดของคนทำให้หาข้อสรุปไม่ได้เลยต้องมีการพยายามนำไปสู่การค้นหาคำตอบโดยการทดลอง การพิสูจน์


เนื้อหาที่อาจารย์สอนสรุปในรูปของ Change the lesson to Mind map 




วิธีการสอนและเทคนิคในการสอน (How to teach and use techniques)

    - ในการสอนอาจารย์พยายามให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

    -วันนี้อาจารย์ใช้ Program  Power point ในการบรรยายประกอบการสอน
    - มีการใช้เพลงในการตั้งคำถามฝึกให้นักศึกษาคิดหาคำตอบ และเชื่อมโยงเพลงให้เข้ากับความรู้ที่เรียน
    - ใช้ English language สอดแทรกในการสอน
    -ฝึกให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ Constructionism theory


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (Things that need to be developed)


    -  นำหลักในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยการนำสื่อที่เป็นของจริงมาให้เด็กศึกษาจะมีผลให้เด็กเกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้มากกว่าสื่อที่เป็นของจำลอง
     -การเลือกใช้เพลงในการให้ความรู้กับเด็กเพราะเพลงถือเป็นสื่อที่สำคัญต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กเพราะเพลงมีจังหวะ ทำนองสนุกสนาน เมื่อสอดแทรกความรู้ต่างๆลงไปในเพลงก็จะทำให้เด็กจำได้ไม่รู้สึกเบื่อซึ่งจะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
     -นำคำแนะนำในการเลือกบทความและการนำเสนอบทความมาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม
    - สามารถนำทฤษฎี Construction theory มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กโดยให้เด็กได้ลงมือกระทำชิ้นงานด้วยตนเอง
    - สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กมี Science process skills ครบทั้ง7ทักษะ
    - ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นให้เด็กลงมืปฏิบัติเองมากกว่าฟังคำบรรยายจากครูเพราะเด็กจะได้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเองและเด็กจะเข้าใจมากกว่า
    - เลือกจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้คือประสาทสัมผัสทั้ง5
    - นำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาทำเช่น ทำภาพซ้อนไปใช้สอนเด็กให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านได้ ด้านร่างกาย เด็กก็จะได้จากการปั่นไม้เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ ด้านสังคม เด็กก็จะได้จากการประดิษฐ์งานสร้างสรรค์ร่วมกันกับเพื่อน ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กได้รับความสนุกสนานจากการเล่น และด้านสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้เรียนรู้เรื่องภาพสามมิติ เป็นต้น 


ประเมินผล (Evaluation)


ประเมินตนเอง Self-Evaluation


วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา มีความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สนใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำอย่างมาก ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามทุกคำถามของอาจารย์ วันนี้ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้หลายข้อโดยเฉพาะคำศัพท์ภาษาอังกฤษและคำถามที่เกี่ยวกับศิลปะ

ประเมินเพื่อน    Friends-Evaluation

วันนี้เพื่อนๆในห้องทุกคนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถามของอาจารย์ดีมาก  ในช่วงที่เพื่อนออกไปนำเสนอบทความยังมีเพื่อนบางคนที่คุยกันและไม่ตั้งใจฟังบทความที่เพื่อนออกไปนำเสนอ แต่โดยรวมแล้ววันนี้เพื่อนๆเกือบทุกคนตั้งใจเรียนกันดีอาจเป็นเพราะว่าวันนี้มีกิจกรรมมาให้ทำเลยทำให้ไม่รู้สึกเบื่อ

ประเมินอาจารย์   Teacher-Evaluation

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาสอนและเทคนิคการสอนที่หลากหลายทำให้เนื้อหาในการเรียนในวันนี้ดูน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ อาจารย์มีคำถามมาถามนักศึกษาได้ตลอดทั้งคาบเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาแต่ละคนได้ใช้ความคิด


    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น