welcome to my blog E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood ^_^

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

The Third Blog
September,5  2014
 1.10 PM - 4.40 PM
Teaching time  1.10 PM.  Attend class at  1.00 PM.  Finish class at 4.00 PM.





What I have learned today

    เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้สรุปเป็นMind map





วันนี้หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ได้ให้เพื่อนที่เตรียมบทความมาออกมานำเสนอมีทั้งหมด 4 บทความ


    บทความที่1  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


       วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย


    บทความที่2  กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล



กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล Preschool  Workshops

ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่   อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย
KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนตร์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ

WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย



    บทความที่3  สอนลูกเรื่องพืช(Plants)


    การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งการปลูกพืชจะทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิต การเลี้ยงดู ประโยชน์ และคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
   การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย



      แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" ประกอบด้วยแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
       1.
ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ตัว หรือโลกของเรา
       2.
ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
       3.
เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
       4.
นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน
       5.
การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์


วิธีการสอนและเทคนิคในการสอน (How to teach and use techniques)


      -ใช้ Program Power point ประกอบการสอนและใช้คำถามประกอบการสอนโดยใช้สื่อคือ Power point ในการตั้งคำถามมีรูปภาพประกอบ
      -  ใช้น้ำเสียงหนักแน่นในการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาทุกคนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม 
      -  อาจารย์ใช้ English  language สอนแทรกในการบรรยายการสอน 


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (Things that need to be developed)


      - เรื่องการแต่งการเป็นเรื่องแรกที่อาจารย์พูดในวันนี้เนื่องจากมีเพื่อนบางคนแต่งกายมาไม่เหมือนกัน อาจารย์จึงเน้นให้นักศึกษาทุกคนแต่งกายมาให้เหมือนกันเพื่อความเป็นเอกภาพUnity เป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยไปในตัว
      -นำคำแนะนำเรื่องการพยายามใช้ภาษาอังกฤษให้มากในการบันทึกBlogเพราะถ้าเราใช้อย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เราจำศัพท์คำนั้นได้ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง
    - เรื่องการนำความรู้ที่ได้เรียนหรือได้ฟังจากการบรรยายบทความของเพื่อนมาสรุปเป็น Mindmap การสรุปเป็น Mindmap ก็จะทำให้ง่ายต่อการจดจำทำให้สามารถจับประเด็นของเนื้อหาได้เข้าใจและง่ายขึ้นซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการเรียนรู้
    - นำเทคเนคการสอนของอาจารย์โดยใช้คำถามปลายเปิดไปประยุกต์ใช้ในการตั้งคำถามให้กับเด็กปฐมวัยทำให้เด็กได้ฝึกคิด 
   -นำคำแนะนำของอาจารย์ในการนำเสนอบทความของเพื่อนมาปรับใช้กับตนเอง
     


ประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง Self-Evaluation

วันนี้ในช่วงแรกๆตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์พร้อมกับจดสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ที่อาจารย์ได้พูด พอท้ายๆคาบเริ่มไม่ค่อยมีสมาธิแต่ก็พยายามดึงจิตตัวเองให้มีสมาธิกับการเรียนได้ พอเพื่อนพูดบทความวันนี้เริ่มรู้สึกเบื่อเพราะคิดว่าเพื่อนยังไม่มีวิธีพูดบทความได้น่าสนใจ 

ประเมินเพื่อน  Friends-Evaluation

    วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์พูด บางคนก็มีส่วนร่วมในการตอบคำถามส่วนมากจะเป็นคนเดิมๆที่ตอบคำถามอาจารย์แต่บางคนก็ไม่กล้าตอบ แต่ช่วงที่เพื่อนออกไปนำเสนอบทความ ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์comment มากเป็นพิเศษ

ประเมินอาจารย์  Teacher-Evaluation

   ในการสอนอาจารย์มีเทคนิคการอธิบายยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย อาจารย์พยายามให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามอยู่เสมอทำให้นักศึกษากระตือรือร้นที่จะตอบคำถาม เนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนอยู่ในรูปแบบของ Power point และมีรูปภาพเป็นสื่อประกอบการสอนทำให้เข้าใจได้ง่าย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น